วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

รักสุขภาพ ให้ลด/งดอาหารเค็ม

ความเค็มในอาหารที่เรากินกันอยู่ในทุกวันนี้มาจากโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่อยู่ในกลุ่มเกลือแร่ ที่คนทั่วไปมักรู้จักในรูปโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงนั่นเอง

ความต้องการโซเดียมแต่ละวัน อยู่ที่ 2,400 มก./วัน หรือเกลือแกงไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน



ลดเค็มวันนี้เพื่อ...ชีวียืนยาว
1.ชิมอาหารทุกครั้งก่อนที่จะมีการเติมเครื่องปรุงรสทุกชนิด
2.หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัดและอาหารหมักดอง
3.เลือกบริโภคอาหารสดหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เช่น บริโภคเนื้อหมูดีกว่าไส้กรอกหมูหรือหมูยอ เป็นต้น
4.หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยวที่มีเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
5.ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงน้ำจิ้ม เช่น สุกี้
6.ทดลองปรุงอาหารโดยใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่นในปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ในสูตรอาหารก่อนถ้าไม่อร่อยจริงๆ จึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณของเครื่องปรุงรส
7.เพิ่มการรับประทานผักผลไม้มากขึ้นให้ได้รวมวันละ 8-10 ส่วน
โซเดียมกับสุขภาพ  ร่างกายต้องการโซเดียมเพื่อช่วยควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำ และรักษาความเป็นกรดด่างของร่างกาย  ถึงแม้โซเดียมจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไปกลับมีผลเสียต่อร่างกาย ในทางระบาดวิทยาพบว่าการบริโภคโซเดียมปริมาณสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และเมื่อบริโภคโซเดียมมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้นในการขับโซเดียมออกจากร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการบวมได้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

มารู้จักโรคขาดสารไอโอดีนและวิธีป้องกันกันเถอะ

มารู้จักโรคขาดสารไอโอดีนและวิธีป้องกันกันเถอะ
ที่มา สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

                สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายใช้สร้างฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ที่มีความสำคัญต่อร่างกายในการกระตุ้นให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต โดยเฉพาะสมองและระบบประสาทให้มีการพัฒนาที่สมวัยและเต็มศักยภาพร่างกายต้องการไอโอดีนในปริมาณเล็กน้อยแต่จำเป็นต้องกินทุกวันหากได้รับไม่พอการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนจะลดลงทำให้เป็น โรคขาดสารไอโอดีน

โรคขาดสารอาหารมีอาการอย่างไร
                คอพอก ต่อมธัยรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ เพื่อเพิ่มการทำงานของต่อมธัยรอยด์ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำ ความดันโลหิตตัวล่างสูง เชื่องช้า ง่วงนอน ท้องผูก ผิวหนังและผมแห้ง
ที่มา สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

รักษาอย่างไร  ภาวะคอพอกและภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ จากการขาดสารไอโอดีนสามารถรักษาได้โดยการรับประทานอาหารทะเลหรือใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานปรุงอาหารทุกวันติดต่อกัน แต่ในทารกที่ขาดสารไอโอดีนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไม่สามารถรักษาได้ควรป้องกันการขาดสารไอโอดีนโดยมารดาต้องได้รับสารไอโอดีนเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์

การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนทำอย่างไร
õบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนเลือกซื้อเฉพาะเกลือที่เสริมไอโอดีนโดยตรวจดูจากฉลากของเกลือที่เขียนว่า เกลือเสริมไอโอดีน
õบริโภคอาหารทะเลเป็นประจำ เช่นปลาทู หอย ปู กุ้ง
õบริโภคอาหารที่มีการเติมสารไอโอดีน เช่น น้ำปลา บะหมี่สำเร็จรูป และไข่ไก่สดเสริมไอโอดีน
ที่มา สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

นมแม่....คือหยดแรกของสายใยรัก

“ในวัยทารก โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยคือ โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคแพ้โปรตีนนมวัว”
     กินนมแม่....ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคแพ้โปรตีนในนมวัว
     วัยทารกโดยเฉพาะ 6 เดือนแรกยังอยู่ในระยะอ่อนแอ ทางเดินหายใจไม่แข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันยังสร้างได้ไม่เต็มที่ เยื่อบุทางเดินอาหารและระบบน้ำย่อยก็ยังไม่แข็งแรง จึงง่ายต่อการติดเชื้อ สารแปลกปลอมเล็ดลอดเข้าไปกระตุ้นให้แพ้ได้ง่าย
     การให้ทารกกินนมผสมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว โดยเฉพาะถ้ามีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ทารกที่กินนมผสมจะมีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว และทารกที่กินนมแม่ยังอาจพบโรคนี้ได้ เป็นเพราะแม่กินนมวัวมากเกินไปในระยะตั้งท้อง และในระหว่างให้นมลูก

โรคแพ้โปรตีนนมวัว !
     เป็นโรคที่ควรป้องกันไม่ให้เกิดกับลูก เนื่องจาก       
    วินิจฉัยยาก ต้องมีการทดสอบ ทดลองหลายครั้งจึงจะบอกได้
     อาการเหมือนเด็กป่วยที่เป็นโรคทั่วไป ทำให้หลงทางในการรักษา เช่น มีผื่นตามใบหน้า แขน ขา ลำตัว ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว ถ่ายมีเลือดปน น้ำมูกไหลไม่หาย คัดจมูก ไอไม่หาย เป็นโรคเรื้อรัง เด็กที่ป่วยเป็นโรคแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารก จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นในอนาคต
ให้ลูกกินนมแม่ ช่วยป้องกัน
โรคแพ้โปรตีนนมวัวได้เพราะ
     ลูกไม่แพ้โปรตีนในนมแม่ เพราะในนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารเหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้
มั่นใจ....ยี่ห้อนมแม่
     “ปัจจุบันมีการโฆษณานมสำหรับเด็กกันมาก ยี่ห้อนี้...ป้องกันโรคภูมิแพ้ ยี่ห้อนี้...ช่วยทำให้เด็กฉลาด ยี่ห้อนี้...สร้างภูมิคุ้มกันได้ ยี่ห้อนี้...”
      แต่ละยี่ห้อเน้นเติมเป็นอย่างๆ ยิ่งเติมมากราคาก็แพงมากขึ้น เติมอย่างไรก็ไม่ครบ เติมไปแล้วก็ยังรับประกันไม่ได้ว่าลูกจะได้ประโยชน์จริง
- ระมัดระวังการโฆษณาชี้นำ สร้างความเข้าใจผิด
- นมผสมเป็นนมจากสัตว์ อย่างไรก็ไม่สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ดีเท่านมแม่
- คณะผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารทารกประกาศว่าการเติม DHA AA ในนมผสม ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีผลทำให้ลูกฉลาด หลายประเทศเริ่มสั่งห้ามโฆษณา เช่น แคนาดา
- สารอาหารครบถ้วนเป็นมาตรฐาน
- ไม่กระตุ้นให้ลูกเกิดปัญหาภูมิแพ้
- เป็นอาหารที่พิสูจน์ได้ว่า ดีที่สุดสำหรับสมองลูก
- นมแม่มีภูมิคุ้มกันของจริงครบทุกด้านที่เหมาะสมกับลูกทำให้ลูกไม่ป่วยบ่อย
ทำไม....ไม่อยากให้ลูกกิน “นมผสม” ตั้งแต่แรกเกิด
การนำนมผสมมาให้ลูกกินตั้งแต่แรกเกิด ไม่ว่าจะให้เสริมหรือแทนนมแม่ จะทำให้....
- ลูกไม่ได้รับ “หัวน้ำนม” ลูกจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
- ลูกจะดูดนมแม่น้อยลง ดูดนมแม่ไม่เป็น นมแม่ก็จะยิ่งสร้างน้อยลง
- มีโอกาสเกิดโรคท้องเสีย ทางเดินหายใจอักเสบ
- มีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งนำไปสู่โรคภูมิแพ้อื่นๆ
* แต่ถ้าแม่ป่วยหนักหรือเป็นโรคที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ หรือลูกป่วยจนไม่อนุญาตให้กินนม ก็จำเป็นที่ต้องให้นมผสม*
ครอบครัว....เป็นโรคภูมิแพ้มีเทคนิคกินนมแม่อย่างไร เพื่อลดโอกาสลูกเกิดโรคภูมิแพ้
     ในระยะลูกอายุ 6 เดือน ต้องให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวล้วนๆ หลังอายุ 6 เดือน ให้อาหารทารกตามวัย
     ถ้าสงสัยว่าลูกมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว หยุดการให้นมวัวหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัวจนลูกอายุครบ 1 ปี หยุดการให้ไข่ และอาหารที่มีส่วนประกอบจนลูกอายุครบ 2 ปี หยุดการให้ถั่วและปลา จนลูกอายุครบ 3 ปี
     แม่ควรงดอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว และปลา แต่ควรได้รับแคลเซียมและวิตามินรวม
ทำไม....ไม่อยากให้ลูกได้รับข้าว กล้วย อาหารอื่น นมผสม หรือแม้แต่น้ำ ก่อนอายุ 6 เดือน
     เนื่องจาก
- เยื่อบุทางเดนอาหารยังอยู่กันหลวมๆ
- ระบบน้ำย่อยยังไม่สมบูรณ์
- ระบบคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง
- การนำอาหารอื่นมาให้ลูกเป็นการนำเอาโปรตีนแปลกปลอมเข้าสู่ลูก ก่อให้เกิดการแพ้
- การย่อยไม่สมบูรณ์ ปวดท้อง ท้องเสีย
- นำเชื้อโรคสู่ลูก ทำให้ป่วยบ่อย

ทำอย่างไร
     ควรให้นมแม่อย่างเดียว ไม่ควรให้ ข้าว กล้วย อาหารอื่น นมผสม ฯลฯ หรือแม้แต่น้ำในระยะ 6 เดือนแรก
     ถ้ามีปัญหากังวลใจว่าลูกจะได้รับนมแม่ไม่พอ ปรึกษาคลีนิคนมแม่ใกล้บ้าน

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

“พิชิตอ้วน พิชิตพุง”

ภารกิจที่u ปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร
หลักสำคัญของการบริโภคอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก
3 เพิ่ม...ผัก ปลา และธัญพืช 3 งด...ขนมหวาน ของมันและแอลกอฮอล์  3 ลด...แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่มรสหวาน
ภารกิจที่v เคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกาย เป็นประจำสม่ำเสมอ ทำให้น้ำหนักและรอบพุงลดลง เห็นผลทันใจ
หลักการลดน้ำหนักและรอบพุง
J เคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน อาจจะทำต่อเนื่องครั้งเดียว หรือทำเป็นช่วงสั้นๆ วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าน้ำหนักตัวยังไม่ลด เพิ่มเวลาเคลื่อนไหว ออกแรง/ออกกำลังกาย วันละ 40-60 นาที
J เริ่มกิจกรรมเบาก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มจนถึงเป้าหมาย
J เคลื่อนไหวออกแรงให้เป็นวิ๔ชีวิตประจำวัน เช่น เดินมากขึ้น ทำงานบ้านอย่างกระฉับกระเฉง หรือออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นรำ ฯลฯ
ภารกิจที่w ควบคุมความรู้สึกสัญญาณต่างๆ การลดน้ำหนักจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการควบคุมความรู้สึกสัญญาณต่างๆ หากไม่สามารถควบคุมได้จะทำให้ล้มเลิกความคิดในการลดน้ำหนักในที่สุด
การพบเห็นอาหารน่ากิน(สัญญาณ)"  กินทั้งๆที่ไม่หิว(พฤติกรรม)"  เกิดการสะสมพลังงานในรูปไขมัน(ผลลัพธ์)
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนฉันใด การลดน้ำหนักและรอบพุงจะสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับเราเองฉันนั้น

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

การป้องกันอัมพฤกษ์

การป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาตในเด็กวัยรุ่น

การออกกำลังกายและใจ
- พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเป็นตัวอย่างการเคลื่อนไหวโดยกิจกรรมทางกาย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านร่วมกัน เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ จัดสวน เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ช่วยแม่จ่ายตลาด
- ควรลดชั่วโมงดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ให้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
- โรงเรียนควรกำหนดให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวออกกำลังกายทุกครั้งในวิชาพลศึกษา และสุขศึกษา
- ผ่อนคลายสมอง เช่น ฝึกนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้า – ออก ดูหนัง ฟังเพลง งานอดิเรก
- จัดสถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น โรงเรียนควรมีโรงยิม ลานกีฬา ที่ปลอดควันบุหรี่เป็นต้น

การป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ใหญ่
1. ฝึกนิสัย “ชิมก่อนเติม กินอาหารรสชาติพอดี”  คนที่ชินกับรสหวาน รสเค็ม ต้องค่อยๆลดปริมาณลงมา ให้คนอื่นช่วยชิม หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และเกลือในปริมาณมาก เช่น ผลไม้ รสจัด น้ำอัดลม น้ำปลา อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ของหมักดอง
   น้ำตาล (ไม่เกิน 5 ช้อนชา/วัน) เกลือ (ไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน) อาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ กุ้ง ปลาหมึก หนังไก่ ขาหมู ของทอด น้ำมันหมู
2. เลิกบุหรี่ ลดปริมาณแอลกอฮอล์
    ชาย ไม่เกิน 2 แก้ว/วัน หญิง ไม่เกิน 1 แก้ว/วัน
3. ควบคุมให้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ดังนี้
    รอบเอวผู้หญิงไม่เกิน 80 ซ.ม. รอบเอวผู้ชายไม่เกิน 90 ซ.ม.
4. กินผักผลไม้ (รสไม่หวานจัด) เพราะมีกากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย เช่น มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่
   ผักสด 5 ทัพพี/วัน ผักสุก 9 ช้อนโต๊ะ/วัน
5. เคลื่อนไหวออกกำลังกาย เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน โยคะ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และสม่ำเสมอ
6. จัดการความเครียดในแต่ละวัน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คุยกับเพื่อน ทำงานอดิเรก ทำสมาธิ
7. ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็คร่างกาย วัดความดัน ตรวจน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง
8. ค่าความดันดลหิต และน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในค่าปกติอยู่เสมอนั่นคือ 
ค่าความดันโลหิตปกติ น้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท ค่าน้ำตาลปกติ น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิเมตร